กลับหน้าหลัก

ประวัติของผีเสื้อ

ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกนี้ สัตว์จำพวกแมลงมีจำนวนชนิดมากถึง 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหมด ด้วยวิวัฒนาการอันยาวนาน แมลงจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายมาก ซึ่งจากการศึกษา ซากดึกดำบรรพ์ของ ผีเสื้อที่ค้นพบในปัจจุบัน พบว่า แมลง ในกลุ่มของผีเสื้อ มีแผ่นปีกบาง ๆ ซึ่งชำรุด เสียหายได้ง่ายหลังจากที่มันตายไปแล้ว จึงเป็นการยากที่จะบอกเรื่องราว ในอดีตได้มากนัก เราต้องอาศัยจินตนาการและการคาดเดาในบางส่วน

ผีเสื้อเป็นแมลงที่มีลักษณะเด่นตรงที่ปีกสวยงาม เป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทร์โปดา (Phylum Arthopoda) เช่นเดียวกับ แมลงทั่วไป ๆ อยู่ในอันดับเลพิดอปเทอรา (Order Lepidoptera)ของชั้นอินเซกตา(Class Insecta) ในอดีตการอนุรักษ์ ผีเสื้อในประเทศไทย ยังไม่เคย มีรูปแบบที่ชัดเจน เนื่องจากพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มิได้กำหนดให้แมลงและแมงเป็นสัตว์ป่า ทำให้มีการดักจับผีเสื้อ เพื่อนำไปขายเป็น ของที่ระลึกอย่างไม่มีขอบเขต จนทำให้ผีเสื้อบางชนิดได้สูญพันธุ์จากประเทศไทย ไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว(Bhutanitis lidderdalei) และอีกหลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ผีเสื้อไกเซอร์(Teinopalpus imperialis)เป็นต้น

แม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าผีเสื้อเป็นแมลงที่ไม่มีความสำคัญกับระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตมากนัก คงมีแต่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่แท้ที่จริงแล้วผีเสื้อมีหน้าที่สำคัญในการผสมเกษร
ให้แก่พืชต่างๆ ทำให้พรรณพืชสามารถดำรงพันธุ์และกระจายพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไปได้ ประกอบกับสภาพป่าธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของผีเสื้อได้ถูกทำลายลง จึงทำให้ชนิดและปริมาณของเสื้อลดลงอย่างรวดเร็ว ผีเสื้อบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ไปก่อนที่จะถูกค้นพบ ดังนั้นในพระราชบ ัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จึงกำหนดไว้ว่า “สัตว์ป่าทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง และแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย…” ทำให้ผีเสื้อได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธย ภาคใต้พื้นที่ส่วนที่ 2 จังหวัดยะลา และนราธิวาส เล็งเห็นว่าผีเสื้อ ซึ่งเป็น สัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายและเป็นการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ อย่างหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้วการอนุรักษ์ผีเสื้อให้คงอยู่กับป่าบาลา-ฮาลานั้น จำเป็นจะต้องศึกษา เกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานของระบบฐานข้อมูลโครงการอันจะนำไป สู่การวางแผน เพื่อมาตรการและแนวทางการอนุรักษ์ ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่นักเรียน เยาวชนและประชาชน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ความร่วมมือ อนุรักษ์ผีเสื้อ ให้คงความงามตลอดไป